วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550

กลยุทธ์ในการสืบค้นแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา


(Strategies on searching learning sources on internet for education)

การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน มีเว็ปไซต์ที่รวบรวม จัดระเบียบข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลของสถานศึกษาโดยตรง เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และองค์กรอื่น ๆ ที่ให้บริการข้อมูลเพื่อเป็นความรู้ โดยทั่วไปจะอยู่ในเวปไซต์ห้องสมุดของแต่ละสถาบันการศึกษานั้น รวมทั้งองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รวบรวม สืบค้น และให้บริการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตโดยตรง ถ้าผู้ใช้เข้าใจ รู้จักวิธีการใช้งานและข้อจำกัดต่าง ๆ ก็จะสามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับความรวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา ซึ่งผู้ใช้ก็จำเป็นต้องใช้วิจารญาณในการตัดสินใจที่จะเลือกข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

กลยุทธ์ในการสืบค้นมีดังนี้

1.เลือกเครื่องมือบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้สืบค้นข้อมูล
เครื่องมือบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้สืบค้นข้อมูล เช่น search engine , metasearch engine รวมทั้งฐานข้อมูล (database) ทางวิชาการด้านต่าง ๆ ที่อยู่บนเวปไซต์ของห้องสมุดของสถานศึกษา ดังนั้นขั้นตอนแรกในการสืบค้น จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือว่าน่าจะมีข้อมูลที่ต้องการอยู่ในแหล่งข้อมูลที่หาหรือไม่ และจึงเลือกใช้เครื่องมือนั้น
เครื่องมือบนอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1. E-mail หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
2. Chat เป็นระบบสื่อสารข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real Time) ใช้พูดคุยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
3. Usenet newsgroup หรือกลุ่มข่าว ที่มีการอภิปรายกันบนอินเทอร์เน็ต
4. Telnet เป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เข้ากับเครื่องเครือข่ายในระยะไกล
5. FTP เป็นเครื่องมือที่ใช้โอนย้ายไฟล์ มีการทำงาน 2 ลักษณะคือดึงไฟล์ และส่งไฟล์
6. Gopher เป็นระบบค้นหาข้อมูลใน Gopher site ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญ
7. WWW (World Wide Web) เป็นระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ระบบ WWW เป็นตัวเร่งให้อัตราการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอื่น ๆ ให้มาอยู่บนระบบ WWW ไม่ว่าจะเป็น newsgroups หรือ gopher รวมถึงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอื่น ๆ มาใช้บนระบบ เช่น ระบบฐานข้อมูลห้องสมุด (OPAC : Online Public Access Catalog ) ระบบฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลที่อาศัยความสามารถของระบบ WWW อันได้แก่ Search engine, Web Directory, Hybrid Search Engine และ Metasearch Engine
Search engineได้แก่
http://www.google.com/, http://www.yahoo.com/, http://www.excite.com/
เว็ปไซต์ห้องสมุดของสถานศึกษาต่าง ๆ ได้แก่
http://www.lib.ku.ac.th/ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.li.mahidol.ac.th/ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.lib.swu.ac.th/ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เป็นต้น
2.การใช้คำค้น
คำค้น หรือคำสำคัญ (Key word) เป็นคำที่ผู้ใช้กำหนดขึ้น มีความหมายหรือลักษณะที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการค้นหา เพื่อให้เชื่อมโยงถึงข้อมูลในแหล่งที่ต้องการได้ ผู้ใช้สามารถค้นได้จากคำที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวข้อ หัวเรื่อง และอื่น ๆ
ในการใช้ search engine นั้น เมื่อผู้ใช้ค้นหาข้อมูลด้วยคำสำคัญ (Key word) จะได้ข้อมูลเป็นจำนวนมาก มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ค้นหาหลากหลายประเด็น เพราะโปรแกรมจะเปรียบเทียบคำสำคัญที่ใช้ค้นหากับข้อมูลในฐานข้อมูล ถ้ามีส่วนตรงกันก็จะแสดงข้อมูลเว็ปไซต์นั้นทันที ซึ่งข้อมูลที่ได้อาจไม่ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหานัก ในที่นี้ยกตัวอย่างการใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ในการค้นหาข้อมูล ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กลยุทธ์นี้กับเครื่องมือสืบค้นต่าง ๆ ได้
1.การใช้คำค้นมากกว่า 1 คำ โดยใช้เครื่องหมาย + หรือ &
2.การใช้เครื่องหมาย – เพื่อกรองข้อมูล เรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะไม่แสดง
3.การใช้เครื่องหมาย “ ” คลุมวลี หรือข้อความที่เฉพาะเจาะจง
4.การใช้เครื่องหมาย OR เพื่อกำหนดเงื่อนไขให้ค้นหาข้อมูลแตกต่างกันแต่สัมพันธ์กัน
5.การใช้ * เพื่อกำหนดให้คำต่อไปเป็นอะไรก็ได้ต่อจากคำค้นที่กำหนด
6.การใช้อักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็กจะถือว่าเป็นอักษรตัวเดียวกัน
7.การเจาะจงค้นหาข้อมูลในเว็ปไซต์ที่ต้องการ โดยพิมพ์ คำค้นที่ต้องการ : ชื่อเวปไซต์ที่ต้องการ
8.ใช้คำว่า link เมื่อต้องการค้นหาเว็ปไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังเวปไซต์ที่สนใจ โดยพิมพ์ link : เวปไซต์ที่สนใจ
9.การค้นหาซ้ำ เป็นการค้นหาข้อมูลในเว็ปไซต์ที่ค้นพบในครั้งแรกอีกครั้งหนึ่ง
10.การค้นหาโดยการกำหนดเฉพาะเจาะจงให้เป็นเว็ปไซต์ที่มีหัวข้อที่ต้องการ โดยใช้สัญลักษณ์ (t:) โดยพิมพ์ t:หัวข้อของเวปไซต์
11.การค้นหาโดยการกำหนดเฉพาะเจาะจงให้เป็นเว็ปไซต์ที่มีตำแหน่งที่อยู่ของเว็ปไซต์ตามต้องการ โดยใช้สัญลักษณ์ (u:) โดยพิมพ์ u:ตำแหน่งที่อยู่ของเว็ปไซต์ตามต้องการหรือหัวข้อของเว็ปไซต์
12.การค้นหาโดยการรวมเครื่องหมายต่าง ๆ ซึ่งมีลำดับดังนี้ +, -, t:, u:, “ ” และ *

ที่มา
ชวน ภารังกูล. การสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและการวิจัย:เอกสารประกอบการสอนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง:ราชบุรี,2550.

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Titikarn Iamsaard

Thailand

Nickname : New

Graduation : Bachelor degree

Biology, Kasetsart University,Thailand

Work : Secondary school Math and English teacher

Address : 62/1 M.11 T.Gradangnga A.Bangkhontee

Samutsongkram 75120 Thailand

"์Nice to see you and Welcome"